ประวัติความเป็นมาของ Third Jersey หรือ ชุดบาสเก็ตบอล ตัวที่สาม

Last updated: 31 ต.ค. 2561  |  1306 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประวัติความเป็นมาของ Third Jersey หรือ ชุดบาสเก็ตบอล ตัวที่สาม

ในฟุตบอล เราจะเห็นเป็นเรื่องปกติ ที่แต่ละทีมจะมีชุดแข่งตัวที่สาม ในกรณีที่เสื้อแข่ง 2 ชุด สีคล้ายกับของเจ้าบ้านจริงๆ จึงจำเป็นต้องมีชุดที่ 3 ออกมาเพื่อให้ไม่มีปัญหาเวลาลงแข่ง


แต่กับวงการบาสเก็ตบอล เอ็นบีเอ แล้ว ชุดบาสเก็ตบอล ชุดแข่งที่ 3 เพิ่งจะมาแพร่หลายหลังปี 2000 ที่ผ่านมานี้เอง เพราะปกติแล้ว ทีมในเอ็นบีเอ จะใส่ชุดบาสเก็ตบอลสีอ่อนเวลาเล่นในบ้าน และใส่ชุดบาสเก็ตบอลสีเข้ม เวลาเป็นทีมเยือน ปกติสีอ่อนที่ใส่กันก็จะใช้เป็นสีขาว และสีเข้มก็จะใช้เป็นสีทีม แรกๆ ผมดูก็ งงเหมือนกันว่า ทำไมเอาชุดที่น่าจะเป็นเอกลักษณ์เป็นชุดทีมเยือน
ทีมแรกที่เริ่มมีชุดบาสตัวที่ 3 คือทีมแอตแลนต้า ฮอว์ค ที่มีเสื้อสีเขียวเพิ่มมาอีก 1 ตัว ซึ่งปกติจะใส่สีข้าวในบ้าน และสีน้ำเงินเข้มเป็นเสื้อเยือนอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นเพียงทีมเดียวในตอนนั้นที่มีชุดแข่งตัวที่สาม เป็นเวลากว่า 20 ปี


หลังจากนั้น ชุดบาส ที่สาม ก็เริ่มมีหลายทีมมาใช้มากขึ้น แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อย จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปี 2000 ที่เกือบทุกทีมจะมี ชุดบาส ตัวที่สาม ก็เหลือแค่เฉพาะ แอลเอ เลเกอร์ และบอสตัน เซลติก เพียงสองทีมที่ก็ยังยืนยันจะไม่มี ชุดบาส ตัวที่สามเหมือนทีมอื่น


ชุดบาส ตัวที่สาม เริ่มมาใช้และผลิตกันจริงจังขึ้น เมื่อ NBA ได้เซ็นสัญญากับ Reebok และ Adidas ทำให้หลายๆ ทีมก็ใช้ชุดแข่งที่สามอย่างจริงจังขึ้น ซึ่งชุดแข่งนี้ก็จะใส่ในช่วงเทศกาลพิเศษต่างๆ เช่น ชิคาโก้ บูลส์ จะใส่ ชุดบาส สีดำในวันมาติน ลูเธอร์ คิง ไม่ว่าจะเล่นในบ้านหรือเป็นทีมเยือนก็ตาม (มาติน ลูเธอ คิง เป็นคนที่ต่อสู้เพื่อคนผิวดำ) และก็จะมีทีมอย่าง นิวยอร์ค นิกและชิคาโก้ บูลส์ จะใส่ ชุดบาส สีเขียว ในวันเซ้น แพทริก หรือเป็นวันหยุดของบ้านเข้านั่นเอง

Powered by MakeWebEasy.com